วัดโกรกกราก

ไหว้พระ 9 วัด สมุทรสาคร ตระเวนไหว้พระขอพร เสริมสิริมงคล       วัดโกรกกราก ตั้งอยู่ที่ถนนธรรมคุณากร ฝั่งมหาชัยในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร เป็นวัดที่อยู่ในโครงการ “อันซีน 3” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง เพราะมีความแปลกที่ไม่เหมือนใครของวัดโกรกกรากแห่งนี้อยู่ที่พระประธานในโบสถ์ อันเป็นพระพุทธรูปศิลาแลงปางมารวิชัยศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลายที่ “สวมแว่นดำ”           การสวมแว่นตาดำของพระพุทธรูปองค์นี้มีตำนานเล่าว่า ในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่เจริญนัก ได้เกิดโรคตาแดงระบาดไปทั่วบ้านโกรกกราก ชาวบ้านจึงได้พากันมาบนบานศาลกล่าวว่าถ้าตาหายแดงเมื่อไหร่จะนำแผ่นทองมาปิดที่ดวงตาขององค์พระศิลาแลง ปรากฏว่าชาวบ้านที่เป็นโรคตาแดงนั้นพากันหายจนเกือบหมดทั้งหมู่บ้าน จึงได้มีการนำแผ่นทองมาปิดที่ดวงตาของพระศิลาแลงเต็มไปหมด           ต่อมาพระครูธรรมสาคร ญาณวฒโน หรือหลวงปู่กรับ หลังจากได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสท่านได้หาอุบายเพื่อไม่ให้ญาติโยมปิดทองที่ตาองค์พระอีกต่อไป จึงได้นำแว่นดำมาใส่ให้พระศิลาแลง หลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านเลยนำแว่นตามาถวายแทนการปิดทองที่ดวงตาพระพุทธรูปองค์นี้ไปโดยปริยาย และถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนพันท้ายนรสิงห์

เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนพันท้ายนรสิงห์ เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนพันท้ายนรสิงห์  ตั้งอยู่ที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร  เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล และเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติของป่าชายเลน ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศาลพันท้ายนรสิงห์ ใกล้กับคลองโคกขามเดิม ที่ซึ่งเกิดเหตุการณ์สำคัญของพันท้ายนรสิงห์ สมัยก่อนเป็นคลองที่คดเคี้ยวมากและน้ำไหลเชี่ยวยากแก่การเดินเรือ แต่ตอนนี้ดูสงบเงียบและร่มรื่นสามารถให้อาหารปลาได้ โดยในเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะเป็นสะพานปูนที่ทอดยาวมีต้นโกงกางขี้นอยู่โดยรอบตลอดแนวชายคลอง โดยต้นโกงกางส่วนมากจะเป็นต้นโกงกางใบใหญ่ สามารถพบเห็นปลาตีนและปูเปรี้ยว ปลาหมอ ปลานิล ฯลฯ จุดเด่นอยู่ที่สะพานแขวนซึ่งสามารถเดินข้ามคลองข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้ เหมาะแก่การเดินเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้นป่าชายเลนแห่งนี้ยังได้รับความสนใจจากสถานศึกษาต่าง ๆ เข้ามาปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง และยังมีต้นกล้าจาก ต้นโกงกางทรงปลูกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าอีกด้วย การเดินทาง จากกรุงเทพฯมายัง ศาลพันท้ายนรสิงห์ จะใช้เส้นทางถนนพระราม 2 มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อถึงทางยกระดับให้ข้ามถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนอุตสาหกรรม ไปอีก 7 กิโลเมตรจะมีทางแยกซ้ายมือ ที่หน้าปากซอยจะมีวัดที่ชื่อเหมือนๆกันว่าวัดพันท้ายนรสิงห์ แต่จุดนี้ยังไม่ใช่นะคะ ศาลพันท้ายนรสิงห์ นั้นจะต้องเลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนทางแยกซ้ายมืออีกประมาณ 9 กิโลเมตร ถ้ามาจากทางจังหวัดสมุทรสาครนั้น สามารถใช้ได้ทั้งเส้นทางถนนพระราม 2 และอีกเส้นทางคือใช้เส้นทางจากถนนเอกชัย เข้าถนนสายสหกรณ์-ศาลพันท้ายนรสิงห์ หมายเลข 3423 เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางด้านหลังของศาลพันท้ายนรสิงห์

สะพานสายรุ้ง ทะเลกาหลง

สะพานสายรุ้ง ทะเลกาหลง         สะพานสายรุ้ง และสะพานชมวิวชายทะเลกาหลง  สีสันสดใส สะดุดตา ตัดกับท้องฟ้าสีฟ้าใส และวิวของชายทะเลแบบกว้างไกล นอกจากสะพานแดงจุดวิวปลาโลมาที่ดังไปก่อนหน้านั้นแล้ว  สะพานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของสมุทรสาครที่กำลังมาแรง ที่เหล่าบรรดาขาถ่ายภาพไม่ควรพลาดมาถ่ายรูปเก๋ๆ คูลๆ กับสะพานสีสันสดใสเหมือนสีของสายรุ้ง พร้อมชมวิวบรรยากาศของชายทะเลกาหลงไปด้วย ในช่วงแดดร่มบรรยากาศเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ปั่นจักรยาน ชมวิวเลียบเส้นนาเกลือไปจนถึงชายทะเล         สะพานไม้สายรุ้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลกาหลง อ.เมือง  จ.สมุทรสาคร ห่างจากมหาชัยไปไม่ไกล ก่อนถึงสะพานไม้สีรุ้ง จะเข้าสู่บ้านกาหลง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีอาชีพทำนาเกลือ ระหว่างทางจะเห็นนาเกลืออยู่เป็นระยะ เมื่อถึงกลางหมู่บ้าน ผ่านวัดกาหลงสามารถแวะไหว้พระที่วัดกาหลงก่อนจากวัดข้ามทางรถไฟจะเจอมุมน่ารักของบ้านกาหลง เป็นป้ายชื่อและจักรยานสีสันสดสันขนาดใหญ่ ตรงจุดนี้จะเป็นร้านขายของชำ ของที่ระลึกจากชุมชน และร้านขายอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ขนาดเล็ก สามารถแวะอุดหนุนได้         ระหว่างทางไปสะพานสายรุ้ง เห็นภาพชาวบ้านกำลังทำนาเกลือ ซึ่งนอกจากอาชีพประมงแล้ว การทำนาเกลือยังเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวบ้านในสมุทรสาคร ที่สามารถพบเห็นได้อยู่ทั่วไปสะพานที่บ้านกาหลงมี  2 สะพาน ตั้งอยู่ใกล้กัน คือ สะพานไม้สายรุ้ง ซึ่งเป็นสะพานแบบไม้ทาสีรุ้งบริเวณทางเดิน อีกสะพาน […]

สะพานแดง จุดชมวิวปลาโลมา

สะพานแดง จุดชมวิวปลาโลมา         สะพานแดง จุดชมวิวปลาโลมา  ตั้งอยู่ที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจุดชมวิวบรรยากาศริมชายฝั่งทะเล และชมพระอาทิตย์ตก ชมป่าชายเลนและไม้ไผ่ชะลอ เป็นจุดชมวิวก็ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว  เพราะมีสะพานไม้สีแดงที่ทอดยาวขนานไปกับชายทะเลความยาว 700  เมตร  มองเห็นวิวทิวทัศน์ของชายฝั่งที่สวยงาม มีลมทะเลพัดเย็นสบาย  สามารถชมบรรยากาศของพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ บริเวณทางเข้า มีร้านอาหารทะเลให้บริการหลายร้าน          สะพานแดงดังกล่าวมีอายุประมาณ 6 ปี สร้างโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรสาคร เหตุผลที่ทาสีสะพานเป็นสีแดง เพราะแต่เดิมหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งของสะพานแดง มีชื่อว่า  หมู่บ้านแดง  สะพานแดงสร้างด้วยไม้แผ่นทั้งหมดรองรับฐานด้วยเสาปูน มีความยาวทั้งสิ้น 700 เมตร  บางช่วงสะพานอาจชำรุด ต้องเดินด้วยความระมัดระวัง

Search engine คืออะไร

search engine คือเครื่องมือในการค้นหา ในความหมายของคนทั่วไปนี้อาจจะหมายความว่าเครื่องมือในการค้นหาสิ่งที่เราต้องการหรือที่เรียกว่า Google ซึ่ง search engine นั้นมันมีหลายประเภทไม่ใช่แค่กูเกิลเท่านั้นที่เป็น Search Engine ยังมี search engine ประเภทอื่นอีกที่เราสามารถใช้งานง่ายไม่ว่าจะเป็น Search Engine ในการหาข้อมูลสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเว็บไซต์ที่เคยเปิดมาเมื่อสมัยปี 2000 หรือเมื่อสมัยปี 1995 เราก็สามารถย้อนเวลาไปหาอดีตไปดูเว็บไซต์ของเมื่อสมัยก่อนได้อีกทั้งยังสามารถที่จะ Copy บทความต่างๆจากเว็บไซด์สมัยก่อน ได้ด้วย search engine ตัวนี้เรียกว่า archive.org เพื่อนๆไม่เคยใช้ให้ลองเข้าไปดูนะผมว่าเป็นตัวที่ดีมากตัวนึงเลยนะเราสามารถที่จะดาวน์โหลดเว็บไซต์จากในอดีตเข้ามาอ่านใหม่ได้บางครั้งก็คิดถึงมันเรื่องในอดีตเหมือนกันนอกจากเว็บไซต์แล้วยังมีพวกหนังสือเก่าๆต่างๆที่เราสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรีๆอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น Magazine หรือว่าเอนไซโคลพีเดียเราก็สามารถที่จะเข้าไปดูได้อย่างสบาย search engine อีกความหมายหนึ่งโดยที่เราแยกคำออกมาคำว่า Search ก็แปลว่าค้นหาคำว่า Engine ก็แปลว่าเครื่องยนต์หรือเครื่องมือเอามารวมกันก็กลายเป็นคำว่าเครื่องมือในการค้นหาหรือเครื่องยนต์ในการค้นหาก็ได้ซึ่งไร้คนในปัจจุบันนี้ก็จะเข้าใจว่าเป็น Google ไปเสียแล้ว ในปัจจุบันนั้น search engine ที่คนใช้เยอะที่สุดก็ไม่พ้น Google เป็นแน่ ซึ่งสถิติบนเว็บไซต์ต่างประเทศนั้นมีคนค้นหาต่อวันไม่ต่ำกว่า 3500 ล้านครั้งหรือกี่หมื่นครั้งต่อวินาทีซึ่งถ้าเกิดว่าเพื่อนๆสามารถที่จะทำเว็บไซต์เข้าไปอยู่ใน Google ติดอันดับหน้าแรกเป็น Google ได้ในชีวิตที่เราต้องการแล้วล่ะก็ผมคิดว่าไม่ยากเลยที่จะทำรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการโฆษณาหรือขายของบริการต่างๆของเพื่อนๆ Search […]

ท่องเที่ยวในจังหวัดฯ

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร การคมนาคม อำเภอเมืองและเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร – ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เสาหลักเมือง ป้อมวิเชียรโชติ – วัดเจษฎาราม – วงเวียนน้ำพุ – ตลาดทะเลไทย – วัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) – วัดโกรกกราก – วัดโคกขาม – ศาลพันท้ายนรสิงห์ – วัดใหญ่จอมปราสาท – วัดป่าชัยรังสี – วัดบางปลา – แหล่งดูนกโคกขาม – พื้นที่ศึกษาธรรมชาติอ่าวไทย   อำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว – วัดนางสาว – ปล่องเหลี่ยม – สวนผลไม้ – วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร   วัฒนธรรม เทศกาล ประเพณี และของดี ของที่ระลึก – เทศกาลอาหารทะเล งานมหาชัยซีฟูดส์ งานประเพณีแห่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง – งานมนัสการพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม งานเทศกาลกินเจท่าฉลอม […]

กฎหมายน่ารู้

กฎหมายน่ารู้ พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติเรือไทย ระเบียบพัสดุ กฎกระทรวงฉบับที่ 63 (หลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ) กฎกระทรวงฉบับที่ 64 (การเก็บค่าตอบแทน) คำสั่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ 186/2548 เรื่องแนวทางการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ยุบเรือเป็นเศษเหล็ก ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 (ควบคุมเรือ แพ ในแม่น้ำลำคลอง) กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 15 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 19 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ.2546 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ พ.ศ. 2543 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน พ.ศ. 2547 ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ว่าด้วยการรายงานการเข้ามาหรือออกไปของเรือในเมืองท่าฯ ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 279/2542 เรื่องการอนุญาตให้ขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฎิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 […]

คู่มือการติดต่อราชการ

คู่มือติดต่อราชการ   การจดทะเบียนเรือ ต่อใบอนุญาต ทำนิติกรรม การขอใบอนุญาตใช้เรือ การขอใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ และใบสำคัญรับรองอื่นๆ การจดทะเบียนเรือไทย และการเปลี่ยนชื่อ การขอหนังสือคนประจำเรือ ต่ออายุ ทำนิติกรรม การขอหนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) การต่ออายุ Seaman Book การขอใบแทน Seaman Book การทำหนังสือสัญญาและบัญชีคนประจำเรือ (คร.4) การขอประทับตรา ใบ Seaman Book ของผู้มีประกาศนียบัตร การสมัครสอบและต่ออายุหรือเลื่อนชั้นประกาศนียบัตร การสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ.2532 การฝึกอบรม การสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ.2541 การขอต่ออายุหรือเลื่อนชั้น การขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำ ดูดทราย การขออนุญาต ดูดทรายเพื่อการจำหน่าย การขออนุญาต ขุดลอกหน้าท่าเทียบเรือ การขออนุญาต ขุดลอกเพื่อการเดินเรือ การขออนุญาตปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ การขออนุญาตปล่อยน้ำเสีย การขออนุญาตทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ประเภทสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่พึ่งอนุญาตได้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตของกรม คำแนะนำในการขออนุญาตและขั้นตอนการดำเนินการ ผังขั้นตอนการพิจารณาการขออนุญาตสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ผังขั้นตอนการพิจารณาการขออนุญาตต่ออายุใช้ท่าเทียบเรือ แนวทางการตรวจสภาพท่าและโป๊ะเทียบเรือ การขออนุญาตใช้แพโดยสาร การควบคุมแพ […]

คู่มือการเบิกจ่าย

คู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย หมวดที่ 1 สวัสดิการ ประเภทที่ 1 การรักษาพยาบาล ประเภทที่ 2 การศึกษาของบุตร ประเภทที่ 3 การช่วยเหลือบุตร หมวดที่ 2 ค่าตอบแทน ประเภทที่ 1 ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ประเภทที่ 2 การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ประเภทที่ 3 ค่าเบี้ยประชุม ประเภทที่ 4 เงินรางวัลเกี่ยวกับการสอบ ประเภทที่ 5 เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ประเภทที่ 6 กรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน ประเภทที่ 7 กรรมการผู้อ่าน ตรวจ และประเมินผลงานทางวิชาการ ประเภทที่ 8 ค่าบทความ หมวดที่ 3 ค่าใช้สอย ประเภทที่ 1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวในราชอาณาจักร ประเภทที่ 2 การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ประเภทที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการนำสื่อมวลชนไปทำข่าว […]

ประวัติกรมเจ้าท่า

ประวัติกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (กรมเจ้าท่าเดิม)              ประเทศไทยติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี   สมัยนั้นมิได้เรียก “กรมเจ้าท่า”    อย่างเช่นปัจจุบัน  เรียก เจ้าภาษีบ้าง   นายด่านบ้างและนายขนอมตลาดบ้าง    ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่บังคับการจอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร   โดยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของกรมพระคลังส่วนคำว่า “กรมท่า”   แต่เดิมคงหมายถึง   เจ้าท่าตามระบบเก่า   หากแต่มีความหมายกว้างขวางออกไปอีก   กรมท่าเป็นส่วนราชการที่มีแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา           เจ้าท่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ   เป็นชาวตะวันออกก่อน เช่น จีน และแขก ชาวตะวันตก มีโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อมามีสเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าประสาททอง   เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง   นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว   พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ    ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก                    คำ “เจ้าท่า” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามประวัติศาสตร์ คำว่า “เจ้าท่า”   มีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ในรัชกาลพระองค์ การค้าขายทางเรือกับต่างชาติปรากฏว่า รุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในยุคนั้น   คำว่า “เจ้าท่า”   สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย   ซึ่งเรียกว่าเจ้าท่าว่า “Shah Bardar”  […]